วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2559

การหาแรงตึงเชือก
หลักการ
1. เชือกเส้นเดียวกันแรงตีงเชือกย่อมเท่ากัน
2. แรงตึงเชีอกมีทิศพุ่งออกจากจุดที่เราพิจารณา
3. รอกลื่นทำให้เชือกเปลี่ยนทิศทางเท่านั้นไม่มีผลต่อขนาดของแรงที่กระทำ


กฎของนิวตัน
กฎข้อที่ 1 กฎของความเฉื่อย (Inertia) 
        "วัตถุที่หยุดนิ่งจะพยายามหยุดนิ่งอยู่กับที่ตราบที่ไม่มีแรงภายนอกมากระทำ ส่วนวัตถุที่เคลื่อนที่จะเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงด้วยความเร็วคงที่ตราบที่ไม่มีแรงภายนอกมากระทำเช่นกัน"
กฎข้อที่ 2 กฎของแรง (Force) 
        "ความเร่งของวัตถุแปรผันตามแรงที่กระทำต่อวัตถุ แต่แปรผกผันกับมวลของวัตถุ”
          • ถ้าเราผลักวัตถุให้แรงขึ้น ความเร่งของวัตถุก็จะมากขึ้นตามไปด้วย
          • ถ้าเราออกแรงเท่าๆ กัน ผลักวัตถุสองชนิดซึ่งมีมวลไม่เท่ากัน  วัตถุที่มีมวลมากจะเคลื่อนที่ด้วยความเร่งน้อยกว่าวัตถุที่มีมวลน้อย
ความเร่งของวัตถุ = แรงที่กระทำต่อวัตถุ / มวลของวัตถุ (หรือ a = F/m)
กฎข้อที่ 3 กฎของแรงปฏิกิริยา
        "แรงที่วัตถุที่หนึ่งกระทำต่อวัตถุที่สอง ย่อมเท่ากับ แรงที่วัตถุที่สองกระทำต่อวัตถุที่หนึ่ง แต่ทิศทางตรงข้ามกัน” หรือกล่าวอย่างสั้นๆ ว่า  แรงกริยาเท่ากับแรงปฏิกิริยา (Action = Reaction)  โดยที่แรงทั้งสองจะเกิดขึ้นพร้อมกัน  นิวตันอธิบายว่า ขณะที่ดวงอาทิตย์มีแรงกระทำต่อดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์ก็มีแรงกระทำต่อดวงอาทิตย์ ในปริมาณที่เท่ากันแต่มีทิศทางตรงกันข้าม และนั่นคือแรงดึงดูดร่วม
ความเร็ว
ความเร็ว (Velocity ; V) คืออัตราการเปลี่ยนตำแหน่งหรือการขจัดต่อหนึ่งหน่วยเวลา เป็นเวกเตอร์

            V = s/t = Displacement / เวลา

ถ้าพิจารณาความเร็ว ณขณะใดๆ คือความเร็วที่ช่วงใดช่วงหนึ่งในช่วงเวลาสั้นๆ เช่น การอ่านความเร็วมิเตอร์ของรถยนต์




การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง
การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
              1. การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงที่ไปทิศทางเดียวกันตลอด เช่น โยนวัตถุขึ้นไปตรงๆ รถยนต์  กำลังเคลื่อนที่ไปข้างหน้าในแนวเส้นตรง
              2. การเคลื่อนที่ในแนวเส้นเส้นตรง แต่มีการเคลื่อนที่กลับทิศด้วย เช่น รถแล่นไปข้างหน้าในแนวเส้นตรง เมื่อรถมีการเลี้ยวกลับทิศทาง ทำให้ทิศทางในการเคลื่อนที่ตรงข้ามกัน


แบบฝึกหัดการแตกเวกเตอร์


การแตกเวกเตอร์
ขั้นตอนการแตกเวกเตอร์
-พิจารณาเวกเตอร์ที่ต้องการแตกว่าอยู่ระหว่างแกนตั้งฉาก 2 แกนใด
-หามุมเวกเตอร์ที่กระทำกับแกนใดแกนหนึ่ง
-เวกเตอร์ที่แตกถ้าอยู่บนแกนใกล้มุม เวกเตอร์นั้นให้ตามด้วย cos ของมุมนั้น และเวกเตอร์ที่แตกถ้าอยู่แกนใกล้มุมจะได้เวกเตอร์นั้นตามด้วย sin ของมุมนั้น

แบบฝึกหัดการหาเวกเตอร์ลัพธ์โดยวิธีการคำนวณ


การหาเวกเตอร์ลัพธ์โดยวิธีการคำนวณ
การหาเวกเตอร์ลัพธ์โดยวิธีการคำนวณ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
 -เมื่อมีเวกเตอร์ย่อย 2 เวกเตอร์
 -เมื่อมีเวกเตอร์ย่อยมากกว่า 2 เวกเตอร์
    การหาเวกเตอร์ลัพธ์โดยวิธีการคำนวณ หรอืมีเวกเตอร์ย่อย 2 เวกเตอร์
-กรณีเวกเตอร์ทั้งสองไปทางเดียวกัน เวกเตอร์ลัพธ์มีขนาดเท่ากับผลบวกของเวกเตอร์ทั้งสองทิศทางของเวกเตอร์ลัพธ์ไปทางเดียวกับเวกเตอร์ทั้งสอง
-กรณีเวกเตอร์ทั้งสองสวนทางกัน เวกเตอร์ลัพธ์มีขนาดเท่ากับผลต่างของขนาดเวกเตอร์ทั้งสองทิศทางของเวกเตอร์ลัพธ์ไปทางเดียวกับเวกเตอร์ที่มีขนาดมากกว่า
แบบฝึกหัดการหาเวกเตอร์ลัพธ์




การหาเวกเตอร์ลัพธ์
การหาเวกเตอร์ลัพธ์โดยวิธีการเขียนรูปแบบหางต่อหัว มีดังนี้
 (1) เขียนลูกศรของเวกเตอร์แรกตามขนาดและทิศทางที่กำหนด
 (2) นำหางลูกศรของเวกเตอร์สองต่อกับหัวลูกศรของเวกเตอร์แรก
 (3) ถ้ามีเวกเตอร์ย่อยๆอีกให้ทำตามขั้นตอนที่ 2 จนครบ
 (4) เวกเตอร์ลัพธ์ หาได้จากลากลูกศรจากหางของเวกเตอร์แรกไปยังหัวลูกศรของเวกเตอร์อันสุดท้าย


ปริมาณทางฟิสิกส์
ปริมาณ (Quantity)
วิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับความจริงที่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นำความรู้ที่ได้จากการศึกษาทดลอง จดบัทึกมารวบรวมเป็นกฎ ทฤษฎี เพื่อเป็นความรู้ในการอธิบายปรากฎการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งการศึกษาวิทยาศาสร์เป็นการศึกษา2 ส่วนคือ เชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาบรรยายเชิงข้อมูลพรรณนา ตามสภาพการรับรู้ของมนุษย์ เช่น การบรรยายรูปลักษณะ สี กลิ่น รส และเชิงปริมาณ เป็นการศึกษาข้อมูลเชิงตัวเลข ซึ่งได้จากการสังเกต และเครื่องมือวัด เช่น ความยาว มวล เวลา ปริมาณต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิชาฟิสิกส์แบ่งออกได้เป็น
ปริมาณในทางฟิสิกส์ มี 2 ปริมาณ คือ
1. ปริมาณสเกลาร์ (Scalar) เป็นปริมาณที่บอกขนาดเพียงอย่างเดียว เช่น มวล , อัตราเร็ว , พลังงาน ฯลฯ
2. ปริมาณเวกเตอร์ (Vector) เป็นปริมาณที่บอกทั้งขนาดและทิศทาง เช่น ความเร็ว , ความเร่ง , การกระจัด , แรง ฯลฯ อ่านเพิ่มเติม


แบบฝึกหัดเลขนัยสำคัญ
ผลลัพธ์ของ 16.74+5.1 มีจำนวนเลขนัยสำคัญเท่ากับตัวเลขในข้อใด

                1.  -3.14             2.  0.003            3.  99.99              4.  270.00
วิธีคิด
การบวก ลบเลขนัยสำคัญ ผลลัพธ์ที่ได้จะมีจำนวนตัวเลขหลังจุดทศนิยม เท่ากับจำนวนตัวเลขหลังจุดทศนิยมที่น้อยที่สุดของ ตัวเลขชุดนั้น ดังนั้น 16.74+5.1 = 21.84 ควรบันทึกเป็น 21.8  ซึ่งมีจำนวนเลขนัยสำคัญเท่ากับ 3 ตัว
             ข้อ 1   มีจำนวนเลขนัยสำคัญเท่ากับ 3 ตัว เป็นคำตอบที่ถูกต้อง
             ข้อ 2 , 3 , 4  มีจำนวนเลขนัยสำคัญเท่ากับ 1 , 4 , 5 ตัวตามลำดับ
เลขนัยสำคัญ
หลักการนับเลขนัยสำคัญ
-ถ้าอยู่ในรูปจำนวนเลขทศนิยมให้เริ่มนับตัวเลขแรกที่เป็นเลขโดด (1 ถึง 9)  ตัวเลขถัดไปนับหมดทุกตัว เช่น  0.561,  5.02,  10.00,  0.50   มีจำนวนเลขนัยสำคัญ  3,  3,  2,   4  และ  2  ตัว ตามลำดับ
-ถ้าวอยู่ในรูป   เมื่อ  (1  A  < 10)  และ  n  เป็นเลขจำนวนเต็ม ให้พิจารณาที่ค่า  A  เท่านั้นโดยใช้หลักเหมือนกับข้อ  1  โดยไม่ต้องคำนึงถึง n เช่น  ,   (หรือ ),  (หรือ ),   (หรือ )  มีเลขนัยสำคัญ 2, 2,  4  และ  2 ตัว ตามลำดับ
-ถ้าอยู่ในรูปจำนวนเต็มให้นับหมดทุกตัวเช่น  16,  125,  5134,   60251  มีจำนวนเลขนัยสำคัญ  2,  3,    4, และ  5 ตามลำดับ แต่ถ้าเลขตัวท้าย ๆ  เป็นเลขศูนย์  ต้องจัดให้อยู่ในรูป     แล้วตอบตามรูปของการจัดเท่าที่เป็นไปได้  โดยมีความหมายเหมือนเดิม อ่านเพิ่มเติม


แบบฝึกหัด คำอุปสรรค
มวลขนาด  0.4  มิลลิกรัมมีขนาดกี่กิโลกรัม

               วิเคราะห์โจทย์  เปลี่ยนมิลลิกรัม ----->   กรัม  -------> กิโลกรัม  ตามลำดับ
                                        จาก  0.4  mg        =     0.4  x     g
                                                                      =        g    (   g = kg)
                                                                      =      kg
                                               0.4 mg          =   0.4  x     kg
             ดังนั้น 0.4  มิลลิกรัม  มีขนาดเท่ากับ 0.4  x    กิโลกรัม
คำอุปสรรค์ (prefixes)
     คำอุปสรรค (prefixes) เมื่อค่าในหน่วยฐานหรือหน่วยอนุพัทธ์น้อยหรือมากเกินไปเราอาจเขียนค่านั้นอยู่ในรูปตัวเลขคูณ ด้วย ตัวพหุคูณ (ตัวพหุคูณ คือ เลขสิบยกกำลังบวกหรือลบ) ได้ เช่น ระยะทาง 0.002 เมตร เขียนเป็น เมตร แทนด้วยคำอุปสรรค มิลลิ(m) ดังนั้นระยะทาง 0.002 เมตร อาจเขียนได้ว่า 2 มิลลิเมตร คำอุปสรรคที่ใช้แทนตัวพหุคูณและสัญลักษณ์ อ่านเพิ่มเติม