วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2559

การหาแรงตึงเชือก
หลักการ
1. เชือกเส้นเดียวกันแรงตีงเชือกย่อมเท่ากัน
2. แรงตึงเชีอกมีทิศพุ่งออกจากจุดที่เราพิจารณา
3. รอกลื่นทำให้เชือกเปลี่ยนทิศทางเท่านั้นไม่มีผลต่อขนาดของแรงที่กระทำ


กฎของนิวตัน
กฎข้อที่ 1 กฎของความเฉื่อย (Inertia) 
        "วัตถุที่หยุดนิ่งจะพยายามหยุดนิ่งอยู่กับที่ตราบที่ไม่มีแรงภายนอกมากระทำ ส่วนวัตถุที่เคลื่อนที่จะเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงด้วยความเร็วคงที่ตราบที่ไม่มีแรงภายนอกมากระทำเช่นกัน"
กฎข้อที่ 2 กฎของแรง (Force) 
        "ความเร่งของวัตถุแปรผันตามแรงที่กระทำต่อวัตถุ แต่แปรผกผันกับมวลของวัตถุ”
          • ถ้าเราผลักวัตถุให้แรงขึ้น ความเร่งของวัตถุก็จะมากขึ้นตามไปด้วย
          • ถ้าเราออกแรงเท่าๆ กัน ผลักวัตถุสองชนิดซึ่งมีมวลไม่เท่ากัน  วัตถุที่มีมวลมากจะเคลื่อนที่ด้วยความเร่งน้อยกว่าวัตถุที่มีมวลน้อย
ความเร่งของวัตถุ = แรงที่กระทำต่อวัตถุ / มวลของวัตถุ (หรือ a = F/m)
กฎข้อที่ 3 กฎของแรงปฏิกิริยา
        "แรงที่วัตถุที่หนึ่งกระทำต่อวัตถุที่สอง ย่อมเท่ากับ แรงที่วัตถุที่สองกระทำต่อวัตถุที่หนึ่ง แต่ทิศทางตรงข้ามกัน” หรือกล่าวอย่างสั้นๆ ว่า  แรงกริยาเท่ากับแรงปฏิกิริยา (Action = Reaction)  โดยที่แรงทั้งสองจะเกิดขึ้นพร้อมกัน  นิวตันอธิบายว่า ขณะที่ดวงอาทิตย์มีแรงกระทำต่อดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์ก็มีแรงกระทำต่อดวงอาทิตย์ ในปริมาณที่เท่ากันแต่มีทิศทางตรงกันข้าม และนั่นคือแรงดึงดูดร่วม
ความเร็ว
ความเร็ว (Velocity ; V) คืออัตราการเปลี่ยนตำแหน่งหรือการขจัดต่อหนึ่งหน่วยเวลา เป็นเวกเตอร์

            V = s/t = Displacement / เวลา

ถ้าพิจารณาความเร็ว ณขณะใดๆ คือความเร็วที่ช่วงใดช่วงหนึ่งในช่วงเวลาสั้นๆ เช่น การอ่านความเร็วมิเตอร์ของรถยนต์




การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง
การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
              1. การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงที่ไปทิศทางเดียวกันตลอด เช่น โยนวัตถุขึ้นไปตรงๆ รถยนต์  กำลังเคลื่อนที่ไปข้างหน้าในแนวเส้นตรง
              2. การเคลื่อนที่ในแนวเส้นเส้นตรง แต่มีการเคลื่อนที่กลับทิศด้วย เช่น รถแล่นไปข้างหน้าในแนวเส้นตรง เมื่อรถมีการเลี้ยวกลับทิศทาง ทำให้ทิศทางในการเคลื่อนที่ตรงข้ามกัน


แบบฝึกหัดการแตกเวกเตอร์


การแตกเวกเตอร์
ขั้นตอนการแตกเวกเตอร์
-พิจารณาเวกเตอร์ที่ต้องการแตกว่าอยู่ระหว่างแกนตั้งฉาก 2 แกนใด
-หามุมเวกเตอร์ที่กระทำกับแกนใดแกนหนึ่ง
-เวกเตอร์ที่แตกถ้าอยู่บนแกนใกล้มุม เวกเตอร์นั้นให้ตามด้วย cos ของมุมนั้น และเวกเตอร์ที่แตกถ้าอยู่แกนใกล้มุมจะได้เวกเตอร์นั้นตามด้วย sin ของมุมนั้น

แบบฝึกหัดการหาเวกเตอร์ลัพธ์โดยวิธีการคำนวณ